ระบบดับเพลิงแบบ Sprinkler

รับเดินท่อ sprinkler
เดินท่อวางระบบดับเพลิงด้วยน้ำ และติดตั้งหัวฉีดสปริงเกอร์เพื่อโปรยน้ำออกมาอัตโนมัติ หัวฉีกสปริงเกอร์จะทำการดับไฟในบริเวณนั้น Sprinkler เป็นระบบดับเพลิงอัตโนมัติที่ใช้ติดตั้งสำหรับอาคารสูง หรืออาคารสาธารณะ มารีนไชน์มีทีมงานช่างที่มีประสบการณ์และความสามารถในการเดินท่อและติดตั้ง Sprinkler อย่างมืออาชีพ ในเรื่องของการเดินท่อ ติดตั้งระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ (Automatic Sprinkler Systems) ระบบท่อยืนสายฉีดน้ำดับเพลิง (Fire Hose Systems) อีกทั้งเรายังรับออกแบบ ติดตั้งระบบดับเพลิงอัตโนมัติด้วยก๊าซ น้ำยาดับเพลิงชนิดสะอาดต่างๆในโรงงานอุตสาหกรรม ตึกอาคาร สำนักงานต่างๆ

อุปกรณ์ประกอบของระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิง
ระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงหรือสปริงเกอร์จะทำงานอย่างได้อย่างสมบูรณ์แบบ จะต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์ดังนี้
- เครื่องสูบน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ (Fire Pump)
- วาล์วสัญญาณแจ้งเหตุ (Alarm Check Valve)
- วาล์วควบคุม (Floor Control Valve)
- ตัวจับสัญญาณการไหลของน้ำ (Water Flow Detector)

ประโยชน์ของระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิง
- ทำงานได้อัตโนมัติ เมื่อเกิดเพลิงไหม้
- ป้องกันอันตรายครอบคลุมพื้นที่ทั่วทั้งอาคารหรือโรงงาน
- มีระบบกริ่งสัญญาณเตือนภัย เมื่อติดตั้งพร้อมวาล์วสัญญาณแจ้งเหตุ (Alarm Check Valve)
- ลดความร้อนและดับเพลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ลดความเสียหายรุนแรงต่อชีวิตและทรัพย์สิน

กฎหมายเกี่ยวกับติดตั้งตู้ดับเพลิงในอาคาร
จากกฏหมายควบคุมเพลิงไหม้อาคารสูง พรบ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 กฏกระทรวงฉบับที่ 33 ในหมวดที่ 2 โดยสาระสำคัญอยู่ที่เรื่องระบบป้องกันเพลิงไหม้ ให้ทุกชั้นของอาคารมีระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ระบบระบายอากาศ ระบบตรวจจับควันไฟ ที่ทำงานร่วมกันเป็นระบบอัตโนมัติเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้

  • ระบบท่อดับเพลิงป้องกันเพลิงไหม้ด้วยน้ำที่ประกอบด้วย ท่อยืน (ท่อที่ส่งน้ำขึ้นอาคารในแนวดิ่ง) ที่ทนต่อแรงดันใช้งานไม่น้อยกว่า 175 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว รวมถึงที่เก็บน้ำสำรอง และตู้หัวฉีดน้ำดับเพลิงทุกชั้นติดตั้งห่างกันไม่เกิน 64 เมตร ซึ่งในตู้ประกอบด้วย หัวสายฉีดน้ำดับเพลิงขนาด 1 นิ้ว ยาว 30 m. และหัวต่อสายชนิดสวมเร็วขนาด 2.5 นิ้ว
  • หัวรับน้ำดับเพลิงภายนอกอาคารต้องมีความสามารถในการส่งน้ำให้กับท่อยืนแรกไม่น้อยกว่า 30 ลิตรต่อวินาทีและไม่น้อยกว่า 15 ลิตรต่อวินาทีในท่อยืนถัดไป โดยต้องสามารถจ่ายน้ำดับเพลิงได้ไม่น้อยกว่า 30 นาที
  • นอกจากเรื่องการติดตั้งหัวฉีดน้ำดับเพลิงแล้ว การติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงแบบมือถือหรือถังดับเพลิงต้องมี 1 เครื่องต่อพื้นไม่เกิน 1,000 ตารางเมตร ทุกระยะไม่เกิน 45 เมตร ติดตั้งสูงจากพื้นไม่เกิน 1.5 เมตร หรือกำหนดให้มีการติดตั้งระบบดับเพลิงอัตโนมัติร่วมด้วยเช่น ระบบดับเพลิงสปริงเกอร์หรือระบบอื่นที่เทียบเท่าสำหรับอาคารที่สูงเกิน 23 เมตร หรืออาคารขนาดใหญ่ พิเศษที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นเกิน 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป

ประเภทของท่อยืน การทำงานของระบบท่อยืนจะทำงานได้อย่างสมบูรณ์เมื่อเชื่อมต่อระบบทั้งหมดเข้ากับระบบส่งน้ำ เช่น ถังเก็บน้ำดับเพลิง เครื่องสูบน้ำดับเพลิง โดยท่อยืนแบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามอ้างอิงของ วสท. ดังนี้
ประเภทที่ 1
ประกอบด้วยหัวต่อสายฉีดน้ำดับเพลิงขนาด 65 มิลลิเมตร (2 1/2 นิ้ว) มีอัตราการไหลของน้ำ 15 ลิตรต่อวินาที (250 gpm) ใช้สำหรับพนักงานดับเพลิงและผู้ที่ได้รับการฝึกฝนการใช้งานเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้
ประเภทที่ 2
เป็นท่อยืนสำหรับหัวฉีดน้ำดับเพลิงขนาด 25 มิลลิเมตร (1 นิ้ว) ส่วนใหญ่ต่อกับสายฉีดน้ำดับเพลิงแบบสายม้วนหรือ Hose reel โดยมีอัตราการไหลของน้ำ 2.50 ลิตรต่อวินาที (20-40 gpm) โดยผู้ใช้งานอาคารสามารถใช้งานได้เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้
ประเภทที่ 3
เกิดจากประเภทที่ 1 และ 2 รวมกัน เป็นท่อยืนสำหรับหัวฉีดน้ำดับเพลิงขนาด 25 มิลลิเมตร (1 นิ้ว) หรือ 40 มิลลิเมตร (1 1/2 นิ้ว) สำหรับผู้ใช้อาคารที่สามารถใช้ดับไฟได้ และหัวต่อสายฉีดดับเพลิงขนาด 65 มิลลิเมตร (2 1/2 นิ้ว) สำหรับเจ้าหน้าที่ดับเพลิงและผู้ที่ได้รับการฝึกฝนการใช้งานแล้ว

ความเหมาะสมของการติดตั้งในอาคาร       
การติดตั้งระบบดับเพลิงด้วยน้ำต้องพิจารณาจากลักษณะการใช้สอยอาคารที่ปลูกสร้างตามกฏหมาย ซึ่งได้แก่ อาคารสูง   อาคารขนาดใหญ่พิเศษ หรืออาคารปลูกสร้างที่เป็นห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว บ้านแฝด หอพัก สถานบริการ และอาคารพาณิชย์        
โดยอาคารปลูกสร้างต่างๆ จะมีลักษณะการใช้งานภายในที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการใช้งานของเจ้าของและผู้อยู่อาศัย ซึ่งแต่ละพื้นที่ในอาคารจะมีการแบ่งลักษะพื้นที่อันตรายไว้จากมากไปน้อย เพื่อช่วยในการออกแบบระบบดับเพลิงที่เหมาะสมเพื่อความปลอดภัยเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ได้อย่างรัดกุม และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  โดยแบ่งลักษณะพื้นที่อันตรายและปริมาณน้ำสำรอง ดังนี้

  1. พื้นที่อันตรายน้อย (Light hazard occupancies) เป็นบริเวณภายในอาคารทั่วไปที่ไม่มีวัตถุอันตรายที่ก่อให้เกิดเพลิงไหม้ได้ง่าย เช่น ที่พักอาศัย สำนักงานทั่วไป ร้านอาหารในส่วนรับประทานอาหาร โรงภาพยนตร์ สถานศึกษา โรงพยาบาล เป็นต้น
  2. พื้นที่อันตรายปานกลาง (Ordinary hazard occupancies) เป็นพื้นที่ภายในอาคารที่ภายในมีเชื้อเพลิงติดไฟได้แต่ไม่ใช่เชื้อเพลิงอันตรายที่ก่อให้เกิดการระเบิดรุนแรงได้ เช่น ที่จอดรถยนต์ โรงงานผลิตเครื่องบริโภค ร้านขนมปัง ร้านซักแห้ง โรงงานผลิตอาหาร ร้านค้า ท่าเรือ เป็นต้น
  3. พื้นที่อันตรายมาก (Extra hazard occupancies) เป็นพื้นที่อาคารที่ทำงานหรือจัดเก็บอุปกรณ์เกี่ยวกับของเหลวติดไฟง่ายและวัตถุไวไฟอื่นๆ เช่น โรงหล่อเหล็ก โรงเก็บซ่อมเครื่องยนต์ โรงพิมพ์ อุตสาหกรรมยาง โรงกลั่นน้ำมัน รวมถึงพื้นที่ที่ใช้สารฉีดชนิดเหลวติดไฟ