Video Conference Solution

Video Conference Solution

Drawing1

ความหมายของวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์

การประชุมทางไกล (Videoconferencing) เป็นเทคโนโลยีรูปแบบหนึ่งของความร่วมมือองค์กรในการใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารระยะไกล ที่ลดเวลา ลดต้นทุนงบประมาณ การสื่อสารในปัจจุบัน ช่วยให้การดำเนินชีวิตคนเรามีความสะดวก สบายมากขึ้น ปัจจุบันผู้บริหารหน่วยงานต่างๆ ที่มีเครือข่ายอยู่ทั่วประเทศสามารถประชุมกันได้ โดยไม่ต้องมาเข้าห้องประชุมที่เดียวกัน ระบบการติดต่อสื่อสารที่สามารถรับ-ส่งข้อมูลภาพ(ผู้ร่วมประชุมและเอกสารที่นำเสนอ) และข้อมูลเสียง ระหว่างจุดต่อจุดหรือจุดต่อหลายๆจุดโดยผ่านระบบสื่อสาร (IP หรือ ISDN) ซึ่งจะเป็นลักษณะของการโต้ตอบซึ่งกันและกันแบบสองทางหรือพูดง่ายๆก็คือระบบประชุมทางไกลที่ผสมผสานระหว่างภาพ ข้อมูล และเสียงนั้นเอง

อุปกรณ์ประกอบที่สำคัญของ Video Conference

1. CODEC เป็นคำย่อมาจาก Code และ Decode เป็นตัวเข้ารหัสสัญญาณภาพและเสียงและข้อมูลที่ได้จากกล้อง ไมโครโฟนและคอมพิวเตอร์ ส่งผ่านเส้นทางสื่อสารไปยังอีกฝั่งหนึ่ง รวมถึงถอดรหัสสัญญาณที่ได้รับมาจากอีกฝั่ง ให้กลับเป็นสัญญาณภาพ เสียง และข้อมูลการนำเสนอแสดงบนจอและลำโพง เส้นทางสื่อสาร (Bandwidth) ขนาด 256 Kbps ขึ้นไปสามารถให้คุณภาพในระดับที่ยอมรับได้สำหรับอุปกรณ์ประชุมที่เป็น Hardware ภายใต้การบีบอัดสัญญาณตามมาตรฐาน H.264, H.264 High Profile หรือ H.264 SVC โดยหลักการทำงานของ CODEC จะแปลงสัญญาณทั้งภาพและเสียงให้เป็นสัญญาณดิจิตอล และจะบีบสัญญาณให้เล็กลงเพื่อใช้ปริมาณ Bandwidth น้อยที่สุดแต่ยังได้คุณภาพสูงที่สุดในการใช้งาน ดังนั้น CODEC จึงเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดของระบบหลักการทำงาน ซึ่งอุปกรณ์ในแต่ละยี่ห้อ (Brand) ก็จะมีความสามารถในการพัฒนา Codec ที่แตกต่างกันตามความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ ซึ่งเป็นตัวชี้วัด ถึงคุณสมบัติและความสามารถของตัวอุปกรณ์เป็นหลัก 2. กล้อง (Camera) เป็นกล้องทีวีที่ใช้ในการจับภาพผู้เข้าร่วมประชุมที่คุณภาพสูง (HD) เพื่อส่งเข้า CODEC แปลงและบีบอัดสัญญาณ มีระบบเซอร์โว เพื่อควบคุมมาจากระยะไกลให้ปรับมุมเงย มุมก้ม ส่วนซ้ายขวา และซูมภาพได้ ปกติจะมาพร้อมชุดอุปกรณ์ Codec โดยปัจจุบัน ในอุปกรณ์แต่ละยี่ห้อเริ่มมีการเปิดกล้างให้กับจุดเชื่อมต่อ เพื่อให้ผู้ใช้งานมีโอกาสเลือกใช้กล้องคุณภาพสูงต่าง ๆ มาต่อใช้งานร่วมกับระบบประชุมทางไกล โดยปัจจุบันเกือบทุกยี่ห้อ มุ่งเน้นไปที่การเชื่อมต่อผ่าน HDMI Interface 3. จอภาพ (monitor) แสดงภาพของผู้เข้าร่วมประชุมทั้งจากระบบ ต้นทางและปลายทางเป็นจอภาพที่ใช้กับระบบ PAL หรือ NTSC ภาพที่ปรากฏมีระบบรวมสัญญาณเพื่อแบ่งจอภาพเป็นจอเล็ก ๆ เพื่อดูปลายทางแต่ละด้านหรือดูภาพของตนเอง ระบบจอภาพอาจขยายเป็นจอใหญ่ขนาดหลายร้อยนิ้วก็ได้ ซึ่งจำเป็นต้องมีลำโพงในตัว แต่ถ้าหากมีการต่อใช้งานกับโปรเจคเตอร์ ผู้ใช้งานจำเป็นต้องจัดหาลำโพงเพื่อใช้ถ่ายทอดเสียงให้กับระบบด้วยนะครับ 4. ไมโครโฟน (Microphone) ทำหน้าที่รับเสียงจากผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อส่งไปยังระบบเสียงปลายทาง 5. รีโมทคอนโทรล (Remote Control) แป้นควบคุมทำหน้าที่ควบคุมกล้อง เสียง และเลือกสัญญาณเข้าต่าง ๆ จากแหล่งต่างๆ ไปยังระบบปลายทาง เป็นสิ่งที่ใช้สำหรับการควบคุมระบบ เช่น ควบคุมการปรับมุมกล้องที่ปลายทางระยะห่างไกล การเลือกการติดต่อปลายทาง การปรับเสียง ปรับระบบสื่อสารต่าง หรือคุณสมบัติอื่น ๆ ที่แต่ละยี่ห้อมีการพัฒนาเข้าไปไว้ 6. ซอฟต์โฟนบนมือถือ (Softphone on Mobile) ทำหน้าที่วีดีโอคอลไปยังปลายทางได้เหมือนกับอุปกรณ์วีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์แต่ใช้อยู่บนมือถือซึ่งความชัดเจนหรือความเสถียรขึ้นอยู่กับ ความระเอียดของกล้องและความเสถียรของ Internet ว่ามีความเสถียรไหมนั้นเอง 7. ซอฟต์โฟนบนคอมพิวเตอร์ หรือ บนแล็ปท็อป (Softphone on PC) ทำหน้าที่วีดีโอคอลไปยังปลายทางได้เหมือนกับอุปกรณ์วีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์หรือซอฟต์โฟนบนมือถือแต่เรามาใช้ที่คอมพิวเตอร์หรือแล็ปท็อปแทนซึ่งความเสถียรของภาพขึ้นอยู่กับความเร็วของ Internet และความคมชัดของกล้องที่ติดอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์พิวเตอร์

ข้อดี ของวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ (Video Conference)

1. สามารถทำการประชุมเพื่อวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา และตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว 2. สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนให้ผู้เรียนที่อยู่ห่างไกลสามารถร่วมเรียนด้วยได้ 3. ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางจากที่ต่าง ๆ เพื่อมาประชุมหรืออบรม 4. สามารถลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการเดินทางได้