VoIP Solution

VoIP Solution

S_6370399290638ความหมายของวีโอไอพี (VoIP)

วีโอไอพี (VoIP) ย่อมาจาก วอยซ์โอเวอร์ไอพี (Voice over Internet Protocol) (หรือชื่ออื่น IP Telephony, Internet telephony, หรือ Digital Phone) เป็นการสื่อสารทางเสียงผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ต หรือโครงข่ายอื่นๆ ที่ใช้อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล สัญญาณเสียงจะถูกตัดแบ่งเป็นแพ็คเก็ตวิ่งผ่านไปบนโครงข่ายที่ใช้สำหรับการสื่อสารข้อมูลทั่วไป แทนการใช้วงจรเฉพาะตามวิธีการสื่อสารในระบบโทรศัพท์แบบดั้งเดิม เปรียบได้กับการให้รถยนต์วิ่งแทรกกันได้ตามช่องว่างที่มีอยู่ของถนน แทนการให้รถยนต์คันเดียวจองถนนวิ่งแบบผูกขาด ข้อดีของวีโอไอพีก็คือการสามารถใช้โครงข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถให้บริการได้ในอัตราค่าบริการที่ถูกลงมาก

อุปกรณ์ประกอบที่สำคัญของ VoIP

1. IP-PBX เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมโยง,ควบคุม เครื่องโทรศัพท์ในระบบ และทำหน้าที่หลักของตู้ชุมสายโทรศัพท์ (เช่นระบบ Voicemail , IVR , Auto-Attendant) ในการสื่อสารทางเสียงผ่านระบบเครือข่าย intranet หรือ internet. โดยการทำงานของ IP-PBX นั้นจะทำหน้าที่เหมือน ตู้ชุมสาย PABX โดยจะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการทำงาน เช่น การ Route Call ไปยังปลายทาง หากแต่ IP-PBX นั้นจะทำงานผ่านระบบ IP หรือ ระบบ computer network (LAN/WAN) เป็นหลัก ฉะนั้น ในการส่งเสียงไปยังปลายทางจำเป็นต้องส่งผ่านระบบ Computer Network โดยเสียงที่จะส่งจะต้องถูกแปลงไปเป็น รูปแบบ digital โดยอุปกรณ์ VoIP ที่สามารถส่งสัญญาณผ่านระบบ network ได้ ก่อนที่จะถูกแปลงเป็นสัญญาณเสียงอีกครังที่อุปกรณ์ปลายทาง

2. VoIP Gateway เป็นส่วนที่เชื่อมต่อกับระบบโทรศัพท์แบบดั้งเดิม เช่น เครื่องโทรศัพท์ แฟ็กซ์ เบอร์โทรศัพท์ เป็นต้น ส่วนนี้จะมีอินเตอร์เฟส (หรือพอร์ต) ทำให้ใช้โทรศัพท์ระบบดั้งเดิมใช้งานผ่านโครงข่าย VoIP ได้ ซึ่งนี่เป็นจุดประสงค์หลักในการผลิตอุปกรณ์ VoIP ขึ้นมาครับ พอร์ตเชื่อมต่ออยู่ประมาณ 3-4 ประเภทครับเพื่อให้เหมาะสมกับประเภทอุปกรณ์ที่จะนำมาเชื่อมต่อ ได้แก่

– พอร์ตแบบ FXS (Foreign Exchange Station) เป็นพอร์ตแบบอนาล๊อก สำหรับต่อกับหัวเครื่องโทรศัพท์ เครื่องแฟ็กซ์ หนึ่งพอร์ตใช้สาย 2 เส้น เรียกว่า Tip และ Ring – พอร์ตแบบ FXO (Foreign Exchange Office) เป็นพอร์ตแบบอนาล๊อก สำหรับต่อกับเบอร์โทรศัพท์บ้าน เบอร์ออฟฟิศ หรือเบอร์ Extension ของตู้สาขา หนึ่งพอร์ตใช้สาย 2 เส้น เรียกว่า Tip และ Ring

– ไม่มีพอร์ตแต่ใส่ซิมการ์ดได้ ใส่ซิมการ์ดของโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ GSM หรือ CDMA เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อโทรศัพท์เคลื่อนที่เข้ากับ VoIP

– พอร์ตแบบ E&M (Ear and Mouth) เป็นพอร์ตแบบอนาล๊อก สำหรับต่อกับตู้สาขาที่มีพอร์ตแบบนี้ ปัจจุบันพอร์ต E&M แทบไม่มีใช้งานแล้วครับเพราะมีการเชื่อมต่อแบบอื่นมาแทน หนึ่งพอร์ตใช้สาย 7 เส้น ได้แก่ Tx 2 เส้น, Rx 2 เส้น, E 1 เส้น, M 1 เส้น และ Signal Ground 1 เส้น

– พอร์ตแบบ ISDN BRI (Integrated Service Digital Network – Basic Rate Interface) โดยสาย ISDN BRI หนึ่งเส้น รับส่งสัญญาณเสียงได้ 2 แชนแนลหรือ 2 คู่สายพร้อมกันครับ คุณภาพจะดีกว่าการเชื่อมต่อแบบอนาล๊อก ใช้แบนวิดธ์แชนแนลละ 64 Kbps

– พอร์ตแบบ T1 เป็นการเชื่อมต่อแบบดิจิตอล สาย T1 เส้นหนึ่งรับส่งสัญญาณเสียงได้ 23 คู่สายพร้อมๆกัน มีใช้ในทวีบอเมริกา ไม่มีใช้ในประเทศไทยครับ

– พอร์ต E1 สำหรับต่อกับตู้สาขาหรือชุมสายโทรศัพท์ที่มีพอร์ตแบบนี้ เป็นการเชื่อมต่อแบบดิจิตอล สามารถรับส่งได้มากพร้อมๆกัน เช่น E1 แบบ 1 พอร์ตสามารถรับส่งสัญญาณเสียงได้ 30 แชนแนลหรือ 30 คู่สายพร้อมๆกัน ใช้แบนวิดธ์แชนแนลละ 64 Kbps พอร์ตแบบ E1 ยังแบ่งออกเป็น E1 R2, E1 PRI, E1 Q.SIG เป็นต้น

3. IP Phone (ไอพีโฟน) หรือที่เรียกว่า IP Telephony คือ โทรศัพท์ที่ใช้รองรับเทคโนโลยี VoIP มีลักษณะการทำงานต่างกับโทรศัพท์บ้านแบบอะนาลอกที่ใช้กันอยู่ทั่วไป เวลาใช้งานจะต้องต่อไอพีโฟนเข้ากับโครงข่ายอินเตอร์เน็ตโดยตรง (ซึ่งต้องมี server รองรับการให้บริการโทรศัพท์ภายในโครงข่าย IP ด้วย) โดยไอพีโฟนจะนำเอาเสียงที่อยู่ในรูปสัญญาณดิจิตอลขนาด 64 Kbps มาบีบอัดพร้อมกับการเข้ารหัส ที่มีลักษณะพิเศษใช้ความเร็วในการส่งข้อมูลต่ำ (Low-bit-rate Vocoder) ให้เหลือประมาณ 8-10 Kbps แล้วจัดให้อยู่ในรูปแพ็คเก็ตไอพี (IP Packet) ก่อน จากนั้นก็จะส่งผ่านเครือข่าย ไปยังปลายทางที่ต้องการ บริการที่เชื่อมต่อการใช้งานด้านเสียงเข้ากับระบบสื่อสารข้อมูลขององค์กรโดยใช้โทรศัพท์ไอพีซึ่งมีความสามารถในการทำงานสูง จึงสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้อย่างคุ้มค่าและสมบูรณ์แบบ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารด้วยเสียง วิดีโอหรือข้อมูล โดยผ่านทางโครงข่ายไอพีเท่านั้น

ข้อดี ของวีโอไอพี (VoIP)

1. ลดค่าใช้จ่าย (Cost Savings) ในการติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์ลง เนื่องจากเสียงได้ถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบเดียวกับข้อมูล จึงทำให้สามารถส่งสัญญาณเสียงไปในเครือข่าย LAN หรือ WAN ได้เลยไม่ต้องผ่านเครือข่าย PSTN ที่มีค่าใช้จ่ายสูงกว่า 2. เพิ่มความยืดหยุ่นในการติดต่อสื่อสารให้กับองค์กร เช่น ในสาขาหรือ Site งานชั่วคราว สามารถนำ VPN ร่วมกับ VoIP ประกอบกันเพื่อสร้างระบบการติดต่อสื่อสารเต็มรูปแบบภายในองค์กรได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว 3. จัดการระบบเครือข่ายได้ง่ายขึ้น เนื่องจากเครือข่ายการติดต่อสื่อสารทั้งหมด สามารถยุบรวมกันให้เหลือเพียงเครือข่ายเดียวได้ อีกทั้งในกรณีที่มีการโยกย้ายของหน่วยงานหรือพนักงาน การจัดการด้านหมายเลขโทรศัพท์และอื่นๆ สามารถทำได้โดยไม่จำเป็นต้องเดินสายสัญญาณใดๆ ขึ้นมาใหม่ 4. รองรับการขยายตัวของระบบในอนาคต หากในอนาคตองค์กรขยายตัวใหญ่ขึ้น VoIP สามารถรองรับผู้ใช้งานได้เพิ่มมากขึ้นในทันทีโดยการเพิ่ม “Virtual” User เข้าไปในระบบเท่านั้นเอง 5. ลดค่าใช้จ่ายในการดูแลและจัดการระบบ (Reduce Operating Expenses) เนื่องจากใช้ซอฟต์แวร์ในการจัดการ ทำให้  VoIP  นั้นง่ายในการจัดการและบำรุงรักษา 6. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน (Increase Productivity) พนักงานสามารถส่งเอกสารผ่านเครือข่ายควบคู่ไปกับการสนทนา หรืออาจจัดการประชุมออนไลน์ (Conference Call)  ทั้งภาพและเสียง และแม้กระทั่งส่งเอกสารการประชุมให้กับผู้เข้าร่วมประชุมผ่านทางเครือข่ายได้อีกด้วย 7. ใช้ร่วมกับการสื่อสารไร้สายได้ ทำให้อุปกรณ์สื่อสารไร้สายต่างๆ เช่นโทรศัพท์มือถือหรือ PDA สามารถติดต่อผ่าน VoIP เข้ามาในเครือข่ายขององค์กรได้ 8. เพิ่มประสิทธิภาพในการติดต่อกับลูกค้า (Improved Level of Services) โดยใช้ความสามารถของแอพพลิเคชั่นต่างๆ ของ VoIP เช่น “Click-to-talk” เพื่อเพิ่มความสะดวกและรวดเร็วในการติดต่อกับลูกค้า

VOIPPPPPPPPPPPPPPP