แผ่นใยสังเคราะห์ Geotextile
Geotextile จัดเป็นสิ่งทอสังเคราะห์( Nonwoven textile) มีลักษณะเป็นแผ่นใยสังเคราะห์ผืนใหญ่น้ำหนักเบา ทำให้เป็นผืนโดยการนำเส้นใยมาผลิตโดยตรง ไม่ต้องผ่านการทำให้เป็นเส้นด้ายก่อน เส้นใยสามารถยึดติดกันและทำให้แข็งแรงด้วยกระบวนการเชิงกล กระบวนการทางเคมี หรือกระบวนการทางความร้อน เส้นใยที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นเส้นใยประดิษฐ์ เช่น พอลิเอสเตอร์ พอลิโพรพิลีน เป็นต้น
Geotextile เป็นสิ่งทอที่ผลิตขึ้นในงานของวิศวกรรมโยธาและอุตสาหกรรมการเกษตร เพื่อป้องกันการพังทลายของดิน ควบคุมอุณหภูมิของดินและปริมาณน้ำ
เส้นใยสังเคราะห์ แบ่งเป็น 3 ประเภท
1. เส้นใยพอลิเอสเตอร์ โพลิเอสเตอร์ เป็นเส้นใยที่ผลิตจากปฏิกริยา Polymerization ของ Dihydric alcohol และ Dicarboxylic acid ดังตัวอย่างปฏิกริยาที่เกิดจากการใช้ Ethylene glycol และ Terephthatic acid Polymer repeat unit ประมาณ 80-100 หน่วย จึงจะได้ Polyester ที่ทำเป็นเส้นใยได้ โพลิเอสเตอร์ที่ได้จากการผลิตในชั้นต้นจะผ่านออกมาเป็นเส้น แล้วถูกตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ เมื่อต้องการทำเป็นเส้นใยก็จะต้องนำไปหลอมเหลว แล้วกดผ่านแว่น Spinneret เส้นใยที่กดออก มากระทบอากาศก็จะแข็งตัว จากนั้นก็นำไปดึงยืดเพื่อให้เส้นใยมีความเหนียวแข็งแรง
2. เส้นใยพอลิเอไมด์ เช่น ไนลอน (Nylon) เป็นพอลิเมอร์สังเคราะห์มีหลายชนิด เช่น ไนลอน 6,6 ไนลอน 6,10 ไนลอน 6 ซึ่งตัวเลขที่เขียนกำกับหลังชื่อจะแสดงจำนวนคาร์บอนอะตอมในมอนอเมอร์ของเอมีนและกรดคาร์บอกซิลิก ไนลอนจัดเป็นพวกเทอร์มอพลาสติก มีความแข็งมากกว่าพอลิเมอร์แบบเติมชนิดอื่น (เพราะมีแรงดึงดูดที่แข็งแรงของพันธะเพปไทด์) เป็นสารที่ติดไฟยาก (เพราะไนลอนมีพันธะ C-H ในโมเลกุลน้อยกว่าพอลิเมอร์แบบเติมชนิดอื่น) ไนลอนสามารถทดสอบโดยผสมโซดาลาม (NaOH + Ca(OH) 2) หรือเผาจะให้ก๊าซแอมโมเนีย ประโยชน์ของไนลอน ใช้ในการทำเสื้อผ้า ถุงเท้า ถุงน่อง ขนแปรงต่างๆ สายกีต้าร์ สายเอ็น ไม้แร็กเก็ต เป็นต้น
3. เส้นใยอะคริลิก ใยอคริลิค เป็นชื่อทั่วไปของเส้นใยสังเคราะห์ซึ่งบริษัทดูปองผลิตขึ้นมาได้เป็นชนิดที่สอง แต่ยังไม่สามารถนำมาทำเป็นเส้นใยได้ จนกระทั่งถึงระยะหลังเมื่อมีเส้นใยสังเคราะห์หลากหลายชนิดเกิดขื้น จึงได้ผลิตเส้นใยอะคริลิคออกมาในสื่อการค้าว่า ออร์ลอน (Orlon) และบริษัทอื่น ๆ ได้ผลิตเส้นใยอะคริลิคออกมา เช่น อะคริแลน (Acrilan) ผลิตโดยบริษัทซีลานีส เวเรล (Verel) ผลิตโดยบริษัทอีสแมน ซึ่งเป็นเส้นใยที่มีส่วนประกอบเหมือนกัน แต่ขบวนการผลิตแตกต่างกัน อะคริลิคเป็นเส้นใยสังเคราะห์ซึ่งประกอบด้วยโพลิเมอร์ของ Acrylonitrille อย่างน้อย 85% โดยน้ำหนักและ Vinyl Cyanide เมื่อได้เป็นโพลิเมอร์ที่จะทำให้เป็นเส้พใยต้องนำไปละลายใน Di-methyl form-amide แล้วจืงอัดเป็นเส้นใย เมื่อตัวทำละลายระเหยไปก็จะได้เส้นใยอะคริลิค
การใช้งาน GEOTEXTILE
– ใช้ปูบ่อก่อนการทำอ่างเก็บน้ำดี / น้ำเสีย ก่อนปูพลาสติกกันซึม
– ปูบ่อขยะ
– ปูพื้นหรือกั้นผนังดินเสริมความแข็งแรงให้เขื่อน
– งานผนังกันดิน
– งานถนน
– งานสนามหญ้า / สนามกอล์ฟ
– ระบายน้ำใต้ดิน เป็นต้น
คุณสมบัติ
ผ้าใยสังเคราะห์ (Geotextile) เป็นวัสดุป้องกันที่ใช้ออกแบบในการแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับงานวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม สามารถผลิตให้มีน้ำหนักได้ตั้งแต่ 120 กรัม/ตร.ม. จนถึง 400 กรัม/ตร.ม. ซึ่งแต่ละน้ำหนักจะมีความสามารถในการรับน้ำหนักกดทับได้ต่างกัน ตั้งแต่ 500 กิโลกรัม/ตร.ม. เป็นต้นไป การเลือกใช้ก็จะขึ้นอยู่กับงานแต่ละชนิด
จำหน่ายแผ่นใยสังเคราะห์ geo textile สีขาวและสีดำมีน้ำหนักตั้งแต่ 100-200g/sqm.หน้ากว้างมีให้เลือกตั้งแต่ 2เมตร , 3เมตร ,4เมตร ,5เมตร, 5.5เมตร ,100เมตรขนส่งง่าย แผ่นใยสังเคราะห์ geo textile เพื่อ support ชั้นดินในงาน เขื่อน,พนังกันดิน,บ่อขยะ, บ่อน้ำดีและน้ำเสีย,พันท่อเดรนเพื่อระบายน้ำ ฯลฯ แผ่นใยสังเคราะห์ , geo textile ,ผ้ากรองดิน ราคาย่อมเยา ตั้งแต่ 23-35 บาท/ตรม. ต่างจังหวัดขนส่งได้