IP PBX SOLUTION

solution-1

          IP-PBX Solution เป็นระบบตู้สาขาโทรศัพท์แบบไอพี (IP-PBX) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีแบบใหม่ที่มีคุณสมบัติเทียบเท่าระบบตู้สาขาโทรศัพท์ในระดับ Enterprise โดยได้รวมความสามารถต่างๆของระบบตู้สาขาโทรศัพท์ไว้มากมายและสามารถเชื่อมต่อได้หลากหลาย Interface ไม่ว่าจะเป็น ระบบชุมสายโทรศัพท์สาธารณะแบบอะนาล็อก PSTN (Public Switched Telephone Network) ระบบชุมสายโทรศัพท์สาธารณะแบบดิจิตอล ISTN (Integrated Services Digital Network) หรือที่ส่วนใหญ่จะรู้กันว่า E1 Trunk ระบบเชื่อมต่อสัญญาณโทรศัพท์ไร้สาย (Mobile Trunk) ระบบเครือข่ายโทรศัพท์ผ่านอินเตอร์เน็ต (VoIP Truk) ซึ่งการทำงานของตู้สาขาระบบ IP-PBX นั้นจะรองรับการทำงานผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  Voice over IP (VoIP) และการทำงานแบบ Client Server รองรับการทำงานร่วมกับซอฟท์แวร์หรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้เทคโนโลยี  VoIP มาตรฐาน SIP โปรโตคอล (Session Initiation Protocol) ได้  เช่น โปรแกรม Softphone, อุปกรณ์วอยซ์เกทเวย์ (VoIP Gateway), เครื่องโทรศัพท์ชนิดไอพี (SIP IP-Phone) หรือ เครื่องโทรศัพท์ชนิดไร้สาย (WiFi Phone) สำหรับใช้ในพื้นที่ที่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตไร้สายได้ อีกทั้งระบบนี้ยังรองรับการสื่อสารร่วมกับผู้ให้บริการโทรศัพท์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (Internet Telephone Service Provider หรือ ITSP) ได้อีกด้วย Yeastar MyPBX เป็นอุปกรณ์ IP-PBX ที่ใช้งานง่ายและสะดวกมำหรับผู้ใช้งาน (User) และผู้ดูแล (Admin) รองรับการให้บริการ VoIP ผ่านทั้ง Local Area Network (LAN) และ Wide Area Network (WAN) ซึ่งทำให้ User สามารถใช้งานระบบนี้ได้ทั้งจากภายในออฟฟิตและภายนอกออฟฟิต ทำให้ User ไม่พลาดการติดต่อสื่อสารต่างๆ และที่ Admin สามารถบริหารจัดการแก้ไข/ปรับแต่งค่าการทำงานต่างๆ ของอุปกรณ์ ผ่านทางอินเตอร์เฟสบนเว็บบราวเซอร์ (Web-Based Configuration Interface) ได้อย่างง่ายดาย เหมาะสำหรับเป็นระบบสื่อสารทั้งภายในองค์กร หรือ ระบบสื่อสารระหว่างสำนักงานใหญ่ (Headquarter) กับสำนักงานสาขา (Branch Office) ในทุกประเภทธุรกิจ ตั้งแต่ขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ โดยจะแบ่งลักษณะการเชื่อมต่อใช้งานออกเป็นหลักๆ ดังนี้ – สำหรับองค์กรที่มีสาขาเดียว (Single Site) – สำหรับองค์กรที่มีสาขาเดียว และต้องการเชื่อมต่อกับตู้สาขาเก่า (Single Site Merge System) – สำหรับองค์กรที่มีหลายสาขา (Multi Site) – สำหรับองค์กรที่มีสาขาย่อยหลายๆ สาขา (Remote Site)   สำหรับองค์กรที่มีสาขาเดียว (Single Site)                                                                                                                                 การเชื่อมต่อและใช้งานกับอุปกรณ์หรือโครงข่ายภายนอก (Trunk Side) จะมีการเชื่อมต่อใช้งานอยู่หลายประเภทเช่น เชื่อมต่อกับระบบชุมสายโทรศัพท์สาธารณะ (ISDN/PSTN) เชื่อมต่อกับระบบโทรศัพท์ไร้สาย (Mobile Trunk/Mobile Gateway) หรือ เชื่อมต่อกับผู้ให้บริการโทรศัพท์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (ITSP หรือ SIP Provider) ซึ่งทาง Comadvance Technology เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการ ITSP ด้วยเช่นกัน
            ส่วนการเชื่อมต่อและใช้งานฝั่งผู้ใช้งาน (User Side) จะมีการเชื่อมต่อใช้งานหลักๆ ดังนี้
1. หากในองค์กรมีการใช้งาน Wifi อยู่แล้วเราสามารถนำ Wifi Phone มาเชื่อมต่อได้เลย หรือใช้ Smart phone ที่ลง Applicaton softphone มาเชื่อมต่อได้เลย ก็จะสามารถทำให้ใช้งานระบบโทรศัพท์ IP-PBX ได้ดังรูป
2. สามารถเชื่อมต่อไปยัง IP Phone ตรงๆ หรือหากทางองค์กรมีการใช้งาน PC อยู่แล้วก็ไม่จำเป็นต้องเดินสาย LAN เพิ่มสามารถนำ IP Phone ไปเชื่อมแทนที่ PC ก่อนแล้วนำสาย LAN อีกเส้นไปเชื่อมต่อจาก IP phone มายัง PC ก็จะสามารถใช้งาน IP Phone และ PC ไปพร้อมๆกับใช้งานระบบโทรศัพท์ IP-PBX ได้ดังรูป
3. สามารถเชื่อมต่อกับ Softphone ที่ติดตั้งกับเครื่อง PC หรือ Notebook ได้เลยก็จะสามารถทำให้ใช้งานระบบโทรศัพท์ IP-PBX ได้ดังรูป
4. สามารถเชื่อมต่อกับ IP Dect Phone ตรงๆ ซึ่งการทำงานของอุปกรณ์ตังนี้  จะมีตัว Base หลักเชื่อมต่อกับสาย LAN และตัว Base จะส่งสัญญาณคุยกับ Cordless Hendset ซึ่งการทำงานจะเหมือนกับโทรศัพท์ไร้สาย ที่เป็น IP phone และระยะการทำงานจะอยู่ระหว่าง 30-50 เมตร ก็จะสามารถทำให้ใช้งานระบบโทรศัพท์ IP-PBX ได้ดังรูป
สำหรับองค์กรที่มีสาขาเดียว และต้องการเชื่อมต่อกับตู้สาขาเก่า (Single Site Merge System) การเชื่อมต่อในลักษณะนี้ จะมีลักษณะเชื่อมต่อเหมือนกับ Single Site แต่ยังคงต้องการที่จะใช้งานร่วมกับระบบตู้สาขาเก่า ซึ่งเป็นตู้สาขาระบบอนาล็อก (PABX) โดยจะมีการเชื่อมต่อผ่านทาง Analog Trunk (FXS,FXO) หรือว่า Digital Trunk (E1 Trunk) ก็ขึ้นอยู่กับว่าตู้สาขาเก่านั้น สามารถเชื่อมต่อแบบไหนได้บ้าง โดยจะมองการใช้งานระหว่างรู้สาขาเก่า (PABX) และตู้สาขาใหม่ (IP-PBX) เหมือนว่าเป็นระบบเดียวกัน ทำให้สะดวกและง่ายต่อการใช้งานของ User
            ส่วนการเชื่อมต่อและใช้งานฝั่งผู้ใช้งาน (User Side) จะมีการเชื่อมต่อใช้งานหลักๆ ดังนี้
1. หากในองค์กรมีการใช้งาน Wifi อยู่แล้วเราสามารถนำ Wifi Phone มาเชื่อมต่อได้เลย หรือใช้ Smart phone ที่ลง Applicaton softphone มาเชื่อมต่อได้เลย ก็จะสามารถทำให้ใช้งานระบบโทรศัพท์ IP-PBX ได้ดังรูป
2. สามารถเชื่อมต่อไปยัง IP Phone ตรงๆ หรือหากทางองค์กรมีการใช้งาน PC อยู่แล้วก็ไม่จำเป็นต้องเดินสาย LAN เพิ่มสามารถนำ IP Phone ไปเชื่อมแทนที่ PC ก่อนแล้วนำสาย LAN อีกเส้นไปเชื่อมต่อจาก IP phone มายัง PC ก็จะสามารถใช้งาน IP Phone และ PC ไปพร้อมๆกับใช้งานระบบโทรศัพท์ IP-PBX ได้ดังรูป
3. สามารถเชื่อมต่อกับ Softphone ที่ติดตั้งกับเครื่อง PC หรือ Notebook ได้เลยก็จะสามารถทำให้ใช้งานระบบโทรศัพท์ IP-PBX ได้ดังรูป
4. สามารถเชื่อมต่อกับ IP Dect Phone ตรงๆ ซึ่งการทำงานของอุปกรณ์ตังนี้  จะมีตัว Base หลักเชื่อมต่อกับสาย LAN และตัว Base จะส่งสัญญาณคุยกับ Cordless Hendset ซึ่งการทำงานจะเหมือนกับโทรศัพท์ไร้สาย ที่เป็น IP phone และระยะการทำงานจะอยู่ระหว่าง 30-50 เมตร ก็จะสามารถทำให้ใช้งานระบบโทรศัพท์ IP-PBX ได้ดังรูป  สำหรับองค์กรที่มีหลายสาขา (Multi Site)                                                                                 การเชื่อมต่อในลักษณะนี้ จะมีลักษณะเชื่อมต่อเหมือนกับ Single Site แต่จะรวมการใช้งานแบบ Single Site หลายๆไซด์ มาเชื่อมต่อเข้าหากันด้วยระบบอินเตอร์เน็ต (Internet) หรือระบบเครือข่ายส่วนตัว (Virtual Private Network : VPN) ทำให้การใช้งานระบบโทรศัพท์ระหว่างองค์กร สามารถโทรหากันได้เสมือนกับเป็นระบบเดียวกัน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ทำให้สะดวกและง่ายต่อการใช้งานของ User
            ส่วนการเชื่อมต่อและใช้งานฝั่งผู้ใช้งาน (User Side) จะมีการเชื่อมต่อใช้งานหลักๆ ดังนี้
1. หากในองค์กรมีการใช้งาน Wifi อยู่แล้วเราสามารถนำ Wifi Phone มาเชื่อมต่อได้เลย หรือใช้ Smart phone ที่ลง Applicaton softphone มาเชื่อมต่อได้เลย ก็จะสามารถทำให้ใช้งานระบบโทรศัพท์ IP-PBX ได้ดังรูป
2. สามารถเชื่อมต่อไปยัง IP Phone ตรงๆ หรือหากทางองค์กรมีการใช้งาน PC อยู่แล้วก็ไม่จำเป็นต้องเดินสาย LAN เพิ่มสามารถนำ IP Phone ไปเชื่อมแทนที่ PC ก่อนแล้วนำสาย LAN อีกเส้นไปเชื่อมต่อจาก IP phone มายัง PC ก็จะสามารถใช้งาน IP Phone และ PC ไปพร้อมๆกับใช้งานระบบโทรศัพท์ IP-PBX ได้ดังรูป
3. สามารถเชื่อมต่อกับ Softphone ที่ติดตั้งกับเครื่อง PC หรือ Notebook ได้เลยก็จะสามารถทำให้ใช้งานระบบโทรศัพท์ IP-PBX ได้ดังรูป
4. สามารถเชื่อมต่อกับ IP Dect Phone ตรงๆ ซึ่งการทำงานของอุปกรณ์ตังนี้  จะมีตัว Base หลักเชื่อมต่อกับสาย LAN และตัว Base จะส่งสัญญาณคุยกับ Cordless Hendset ซึ่งการทำงานจะเหมือนกับโทรศัพท์ไร้สาย ที่เป็น IP phone และระยะการทำงานจะอยู่ระหว่าง 30-50 เมตร ก็จะสามารถทำให้ใช้งานระบบโทรศัพท์ IP-PBX ได้ดังรูป
สำหรับองค์กรที่มีสาขาย่อยหลายๆ สาขา (Remote Site)                                                       การเชื่อมต่อในลักษณะนี้ จะมีลักษณะเชื่อมต่อเหมือนกับ Single Site แต่จะสามารถให้ User ใช้งานระบบโทรศัพท์ได้จากสถานที่ต่างๆ เสมือนว่าอยู่ภายในองค์กร โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ภายในองค์กร เพียงแค่เชื่อมต่อ Internet ได้ก็เพียงพอ โดยการใช้งานก็จะเหมือนกับ User ใช้โทรศัพท์ภายในองค์กร สามารถโทรหา User อื่นๆ ภายในระบบเดียวกันได้ตามปกติ ทำให้สะดวกและง่ายต่อการใช้งานของ User
            ส่วนการเชื่อมต่อและใช้งานฝั่งผู้ใช้งาน (User Side) จะมีการเชื่อมต่อใช้งานหลักๆ ดังนี้
1. หากในองค์กรมีการใช้งาน Wifi อยู่แล้วเราสามารถนำ Wifi Phone มาเชื่อมต่อได้เลย หรือใช้ Smart phone ที่ลง Applicaton softphone มาเชื่อมต่อได้เลย ก็จะสามารถทำให้ใช้งานระบบโทรศัพท์ IP-PBX ได้ดังรูป
2. สามารถเชื่อมต่อไปยัง IP Phone ตรงๆ หรือหากทางองค์กรมีการใช้งาน PC อยู่แล้วก็ไม่จำเป็นต้องเดินสาย LAN เพิ่มสามารถนำ IP Phone ไปเชื่อมแทนที่ PC ก่อนแล้วนำสาย LAN อีกเส้นไปเชื่อมต่อจาก IP phone มายัง PC ก็จะสามารถใช้งาน IP Phone และ PC ไปพร้อมๆกับใช้งานระบบโทรศัพท์ IP-PBX ได้ดังรูป
3. สามารถเชื่อมต่อกับ Softphone ที่ติดตั้งกับเครื่อง PC หรือ Notebook ได้เลยก็จะสามารถทำให้ใช้งานระบบโทรศัพท์ IP-PBX ได้ดังรูป
4. สามารถเชื่อมต่อกับ IP Dect Phone ตรงๆ ซึ่งการทำงานของอุปกรณ์ตังนี้  จะมีตัว Base หลักเชื่อมต่อกับสาย LAN และตัว Base จะส่งสัญญาณคุยกับ Cordless Hendset ซึ่งการทำงานจะเหมือนกับโทรศัพท์ไร้สาย ที่เป็น IP phone และระยะการทำงานจะอยู่ระหว่าง 30-50 เมตร ก็จะสามารถทำให้ใช้งานระบบโทรศัพท์ IP-PBX ได้ดังรูป